ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตรได้ให้บริการทางวิชาการแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน องค์กร สถาบันการศึกษาทั้งภายในและต่างประเทศในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การฝึกอบรมระยะสั้น การให้คำ ปรึกษา การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และสื่ออิเลคทรอนิคส์ ในขณะเดียวกัน ศูนย์วิจัยได้ดำเนินงานพัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยี (Outreach) ในเขตเกษตรนิเวศน์ต่าง ๆ ในที่ราบลุ่ม ที่ดอนอาศัยน้ำฝน และที่สูง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการพัฒนาระบบเกษตรยั่งยืนสำหรับพื้นที่ นอกจากนี้ ผลงานของ ศูนย์วิจัยได้รับการเผยแพร่และถ่ายทอดโดยผ่านการประชุมทางวิชาการทั้งในและต่างประเทศ
10. เสริมสร้างรากฐานการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการบริการวิชาการทางเกษตรศาสตร์เชิง ระบบให้เข้มแข็ง
- จัดตั้งหน่วยงานเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในการประสานการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการ บริการวิชาการ
- จัดทำแผนการฝึกอบรมและประชาสัมพันธ์โครงการฝึกอบรมประจำปี
- พัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านการจัดการด้านเอกสารสำหรับการฝึกอบรม
- พัฒนาบุคลากรและสื่ออิเลคทรอนิคส์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางเกษตร
- ให้คำแนะนำและให้บริการทางวิชาการเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางด้านการศึกษาและ การวิจัยทางเกษตร
- จัดทำระบบฐานข้อมูลทางด้านการผลิตและการตลาด
- แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น
11. ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนองค์กรท้องถิ่นโดยผ่านกระบวนการฝึกอบรมและการวิจัย อย่างมีส่วนร่วม
- ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางวิชาการแบบมีส่วนร่วมทางด้านระบบเกษตรที่ยั่งยืน
- ให้คำปรึกษาทางด้านการวางแผน การจัดการฟาร์ม และธุรกิจเกษตรชุมชน
- จัดทำโครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ต่อเนื่องให้เป็นกิจกรรมหลักของศูนย์วิจัยและ ร่วมงานกับหน่วยงานปฏิบัติ
12. ขยายผลความรู้ที่ได้จากการวิจัยสู่องค์กรของรัฐบาล องค์กรเอกชนและเกษตรกรโดยผ่าน โครงการส่งเสริมและโครงการบริการสังคม
- จัดฝึกอบรมระยะสั้นในเรื่องที่เป็นวิชาการและวิชาชีพ
- ให้คำปรึกษาทางวิชาการแก่หน่วยงานของรัฐ เอกชนและองค์กรพัฒนาการเกษตรทั้งในและ ต่างประเทศ
- จัดให้มีวันเยี่ยมชมแปลงทดลองและแปลงสาธิตการเกษตรเพื่อเผยแพร่กิจกรรมของศูนย์วิจัย ให้แก่เกษตรกรและสถาบันการศึกษา
: 2788 ครั้ง
วันที่เผยแพร่ : 2018-05-07 14:46:57
เผยแพร่โดย :
ฐานิต ศาลติกุลนุการ | หน่วยงาน : ศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร